ไฟไหม้ลุกลามกระทบหลายหลัง ใครต้องรับผิดชอบ?
ไม่ว่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลไหน เรื่องของไฟ มักเป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากเราประมาทเพียงเสี้ยววินาที ก็อาจสร้างความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินของเราได้
และสาเหตุของการเกิดเพลิง ก็มักมีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการจุดธูป จุดเทียนไหว้พระทิ้งไว้ จนทำให้เกิดเพลิงไฟขึ้นได้ แล้วเมื่อหากเกิดขึ้น ไม่ได้เพียงสร้างความเสียหายแค่บ้านเราเท่านั้นบางทีอาจจะสร้างความเสียหายไฟไหม้ไปยังบ้านเรือนรอบข้างอีกด้วย
หลายคนคงสงสัย แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น และเราจะต้องทำอย่างไร จะต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร วันนี้ ANC จะพาทุกท่านมาเรียนรู้กับกรณีศึกษา ด้วยหัวข้อ “ไฟไหม้ลุกลามกระทบหลายหลัง ใครต้องรับผิดชอบ?” แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ มีสาเหตุอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยค่ะ

1. การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ ในขณะที่ไม่ได้ใช้
ยังมีอีกหลายคนที่คิดว่าการที่เสียบปลั๊กทิ้งไฟไว้แต่ไม่ได้เปิดสวิตช์ ก็คงไม่เป็นอะไรหรอก ซึ่งแน่นอน ขณะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คุณเสียบปลั๊กทิ้งไว้หรือเปิดทิ้งไว้อยู่นั้น วงจรไฟฟ้าภายในยังคงส่งกระแสไฟอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็หนึ่งสาเหตุที่ทำให้บางทีอาจจะมีการช็อต หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอยู่ภายใน แต่เพียงคุณไม่ทราบ และยิ่งทำให้เกิดไฟช็อตติดต่อกัน เกิดความร้อนขึ้นในตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
2. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
กรณีที่เป็นปลั๊กพ่วงสายไฟเล็กเกินไป แล้วใช้ไฟฟ้าเยอะ เช่น การใช้หม้อสุกี้ เตาย่างไฟฟ้า รวมไปถึงพวกหม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ที่ใช้สายไฟเส้นเล็กๆ และยังไม่มีแบรนด์ เมื่อคุณใช้งานไปได้สักระยะ คุณจะรู้สึกว่ามีอุณหภูมิสูงมาก ซึ่งถ้าใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ละก็อาจทำให้สายไฟเกิดการละลาย หรือช็อตจนเกิดเพลิงไหม้ได้เช่นกัน
3. การจุดธูป เทียน ไหว้พระ
ธูปเทียนเหล่านี้ถือเป็นวัตถุก่อไฟอย่างดี หากจุดไม่ระวัง อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ แต่หากคุณต้องการจุดธูปเทียน ควรเฝ้าจนกว่าธูปจะหมด หรือถ้าจะให้ดี เมื่อจุดได้สักระยะ ให้ดับด้วยตนเองเลย จะช่วยลดโอกาสเกิดอัคคีภัยได้
4. การเก็บวัตถุไวไฟไว้ในบ้าน
อาทิเช่น สเปรย์เคมีต่างๆ น้ำมัน สารกำจัดสัตว์ไม่พึงประสงค์ หากเก็บไว้ใที่ที่มีความร้อนสูง หรือใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า ก็อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้เช่นกัน
5. ความประมาท
อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ก็เป็นเรื่องของความประมาท เช่นการไม่ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกหลังเลิกใช้งาน เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ ไม่ระมัดระวังในการก่อกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ


ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. กรณีที่ไฟไหม้บ้านเราไม่ได้ลุกลามไปที่อื่น
เบื้องต้นก็ต้องไปสืบว่าการเกิดเพลิงไฟนั้นเกิดมาจากสาเหตุอะไร แต่หากเกิดที่บ้านเราเพียงคนเดียว แล้วเป็นความประมาทที่เกิดขึ้นจากตัวเราเองก็ถือว่าเราต้องรับผิดชอบเอง แต่หากสืบได้ว่าต้นเหตุของเพลิงมาจากที่อื่นก็ต้องฟ้องร้องกันต่อไป แล้วให้บ้านที่เป็นต้นเพลิงเป็นผู้รับผิดชอบ
2. ไฟไหม้บ้านลุกลามกระทบกับหลายหลัง
ในกรณีนี้คนที่เสียหายคงต้องฟ้องร้อง “บ้านต้นเพลิง” ให้รับผิดชอบ ส่วนบ้านต้นเพลิงก็ต้องหาสาเหตุว่าการเกิดเพลิงไฟนั้นมาจากที่ไหน
นอกจากจะหมดตัวเพราะไฟไหม้แล้ว ยังต้องหาเงินมาซ่อมแซมบ้านตัวเอง รวมถึงรับผิดชอบบ้านหลังอื่นที่เกิดมีการลุกลามขึ้นอีก ซึ่งตรงนี้หากใครที่มีประกันบ้านที่เกี่ยวกับอัคคีภัย ก็อาจจะดีหน่อย ตรงที่บริษัทประกันก็จะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณตามที่คุณได้ทำประกันไว้


ประกันบ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไฟไหม้บ้าน นอกจากประกันอัคคีภัยแล้วก็ยังมีประกันอื่นที่มาช่วยเสริมความคุ้มครองได้อีกด้วย
1. ประกันอัคคีภัย
เป็นประกันภาคบังคับสำหรับคนที่กู้ซื้อบ้าน ส่วนคนที่ซื้อเงินสด โดยที่ประกันอัคคีภัยจะให้ความคุ้มครองโครงสร้างบ้านจากกรณีไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยจากระเบิด หรือบางที่อาจรวมไปถึงภัยจากน้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ
**โครงสร้างบ้านในที่นี้หมายถึง โครงสร้างอันประกอบเป็นตัวบ้านบนที่ดินเคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น กำแพง ฝ่า ผนัง กระจก หลังคา
(แต่ในส่วนของประกันอัคคีภัยนี้จะไม่รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งที่เรานำมาติดเพิ่ม)
2. ประกันทรัพย์สินภายในบ้าน
เป็นประกันประเภทเดียวกับประกันอัคคีภัย แต่เป็นภาคสมัครใจ ซึ่งให้ความคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินที่อยู่ภายในบ้านของเรา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ที่เกิดความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคล้ายๆ กับประกันอัคคีภัย
ซึ่งหากเรามีประกันอัคคีภัยเพียงอย่างเดียวในกรณีที่มีไฟไหม้บ้าน ของใช้ภายในบ้านต่าง ๆ เราต้องเป็นคนซื้อเข้ามาใหม่เอง แต่ถ้าเราทำประกันทรัพย์สินภายในบ้านร่วมด้วย เราจะได้ความรับผิดชอบของใช้ภายในบ้านด้วยตามกรรมธรรม์ที่เราได้ทำไว้
3. ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน
ประกันอีกตัวหนึ่งที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อก็คือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ ประกัน MRTA ย่อมาจาก Mortgage Reducing Term Assurance คือ รูปแบบประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำหน้าที่จ่ายชำระหนี้สินให้กับสถาบันการเงินแทนผู้กู้เมื่อผู้กู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ
อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของไฟไหม้โดยตรง แต่เป็นประกันบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตของผู้ที่ทำไว้ โดยที่หากผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือทุพลภาพถาวร ทางบริษัทประกันก็จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อให้ตามที่เราได้ทำประกันไว้
แต่ประกัน MRTA นี้อาจจะขึ้นอยู่กับราคาของบ้าน ซึ่งประกันตัวนี้ก็สามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยหากเราซื้อความคุ้มครองแบบ 10 ปีขึ้นไป

สนใจประกันบ้าน(อัคคีภัย)
คุ้มครองทั้งน้ำท่วม – ไฟไหม้ – ภัยธรรมชาติ – ภัยเครื่องใช้ไฟฟ้า – น้ำรั่ว – โจรกรรม สามารถดูแผนประกันเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3y66Fjb