รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพ หลอกขายประกัน
ปัจจุบันการซื้อขายประกัน ทำได้อย่างง่ายมาก และสามารถซื้อได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนหรือนายหน้าโทรมาเสนอขาย หรือการซื้อ-ขายอีกช่องทางที่ง่ายที่สุดในยุคปัจจุบันคง ไม่พ้นการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ที่สุดแสนจะง่าย ใช้แค่ปลายนิ้วคลิก นี่อาจจะเป็นช่องโหว่งที่มิจฉาชีพมาสวมรวมเป็นตัวแทนหรือนายหน้ามาหลอกให้เหยื่อโอนเงินในหลากหลายรูปแบบ นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเจ็บใจอีกด้วย วันนี้ ANC จึงมารวบรวมกลวิธีของมิจฉาชีพที่จะมาหลอกขายประกัน
1. เสนอขายด้วยสิทธิพิเศษที่เกินจริง
มิจฉาชีพส่วนใหญ่ จะใช้กลวิธีในการแอบอ้างเสนอขายด้วยสิทธิพิเศษที่เกินจริง ซึ่งในสังคมไทยในปัจจุบันทั่วไปก็มักจะชอบการซื้อ-ขายสินค้าที่มีการ “ลด แลก แจก แถม” กันอยู่แล้ว และนี่ก็เป็นอีก 1 สาเหตุ ที่อาจจะทำให้เรานั้นโดนหลอกได้ง่าย ดังเช่น กรณีแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนบริษัทประกันรถยนต์แห่ง เสนอส่วนลด และมอบบัตรกำนัลให้ ซึ่งเป็นข่าวดังหน้า 1 มีเหยื่อถูกหลอกหลายร้อยรายมูลค่ากว่า 4 ล้านบาท

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : สำนักข่าวไทยรัฐ
2. หลอกให้โอนเงิน
โลกในปัจจุบันยังคงพัฒนาตลอดเวลา รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเดี๋ยวนี้ธุรกรรมทางการเงินทำได้ง่ายมาก ไม่ต้องไปถึงที่ธนาคาร แค่มีโทรศัพท์ 1 เครื่อง ก็สามารถ “โอนเงินผ่านแอพพิเคชั่นด้วยปลายนิ้วทันทีโดยที่เราไม่ทันได้ไตร่ตรอง” ดังเช่น กรณีข่าวมิจฉาชีพแอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : สำนักข่าวTNN
3. หลอกให้จ่ายค่าเบี้ยประกันแต่ไม่ได้รับกรมธรรม์
มิจฉาชีพได้พัฒนากลโกงที่แยบยลมากขึ้นด้วยการโน้มน้าว ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ผ่านรูปแบบต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างสถาบันประกันภัยต่างๆ เพื่อหลอกลวงให้ลูกค้าโอนเงินเพื่อชำระค่าเบี้ยประกัน และหลังจากโอนเงินชำระเบี้ยไปแล้ว กลับชิงหนี “ไม่ได้รับทั้งกรมธรรม์และความคุ้มครอง” ต่างๆ ดังข่าว กรณีโทรชวนเสนอขายประกันรถยนต์ แอบอ้างบริษัทประกันภัยชื่อดัง แต่ไม่ได้กรมธรรม์ มีผู้เสียหายมากกว่า 150 ราย สูญเสียเงินกว่า 1 ล้านบาท

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : สำนักข่าว Thai PBS
4. มีประกันแต่เคลมไม่ได้
ทำประกันกับตัวแทนหรือนายหน้าแล้วพอถึงคร่าวเคลม ผู้เอาประกันไม่สามารถเคลมได้ “บริษัทประกันแจ้งว่าไม่มีเลขกรมธรรม์” ดังเช่น กรณีข่าวหลอกให้ซื้อประกันนาน 2 ปี จับโป๊ะหลักรถชนจะเคลมประกัน แต่ประกันไม่มีข้อมูล ก่อนตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงอดีตตัวแทนประกันภัยเท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : สำนักข่าวช่องวัน
5. ตัวแทนหรือนายหน้าปกปิดข้อมูล
ตัวแทนหรือนายหน้าไม่แสดงเลขที่ใบอนุญาต หรือยอมให้ตรวจสอบข้อมูลที่มีการรองรับจาก คปภ. ดังเช่น กรณีข่าวตัวแทนบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งหลอกขายประกันภัยรถยนต์ มีผู้เสียหายมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วพบว่า “ไม่มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย”
**ไม่มีบัตรตัวแทน หากไม่มีบัตรนายหน้า จะกลายเป็นคดีฉ้อโกง

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : สำนักข่าวสด
หากใครที่สนใจกำลังมองหาประกันเพื่อดูแลตัวเองหรือคนที่รัก ANC มีแผนประกันให้เลือกมากมายและครอบคลุมทุกการดูแล ทั้งชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุและการเดินทาง ประกันที่หลากหลายหาแผนประกันที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กับตัว ซื้อง่าย ผ่านออนไลน์
“ รับรองระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลใบอนุญาตขายประกันออนไลน์จากทางคปภ.”
เลือกดูแผนประกัน คลิก : https://bit.ly/3QgE2rj
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
Comments are closed.