ภาษี กับ ความตาย
“ตายแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษี”
ยังเป็นคำถามอีกข้อที่หลายๆคนยังคงไม่รู้ และเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เมื่อร่างกายก็ตายไปแล้ว เหลือแค่เพียงจิตวิญาณ ก็ยังต้องไปเสียภาษีอีกหรอ? วันนี้ ANC จะมาอธิบายให้คลายข้องสงสัยไปพร้อมๆกันค่ะ
ใครต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
จากที่อ่านมาทั้งหมด 5 ข้อ ว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เชื่อว่าหลายๆคนก็เข้าใจว่า บุคคลธรรมดา ก็คือ บุคคลทั่วไป หรือ บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่พออ่านมาถึงข้อที่ 3 แล้วนั้น
ตายแล้วทำไมยังต้องเสียภาษี?
แม้ตามกฏหมายจะมีชื่อว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แตไม่ได้แปลว่าการสิ้นสภาพบุคคลไปแล้ว จะทำให้ภาระภาษีที่มีอยู่ก่อนตายสิ้นสุดลงไปด้วย
ดังนั้น ทายาทจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายในการยื่นแบบเสียภาษีต่อสรรพากร
ตัวอย่างเช่น นายก. เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งที่มีรายได้ประมาณ 50,000 ต่อเดือน แถมมีมรดกตกทอดจากพ่อเป็นห้องพักให้เช่า มีรายได้ต่อเดือนอีก 50,000 บาท
แต่วันนึงก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด นายก.เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตทันที
ดังนั้นคำถามใครเป็นผู้เสียภาษี?
คำตอบคือ นาย ก.
ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลข้อที่ 3 คือ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
ซึ่งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
บุคคลธรรดาที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดยื่นรายการเงินได้
กฎหมายยังถือว่ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอยู่ ทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน
ต้องยื่นแบบเงินได้เพื่อเสียกาษีแทนในนามผู้ตาย “ในปีที่ถึงแก่ความตายเพียง 1 ปี “
แล้วหลังจากที่นาย ก. ไม่ได้รับเงินเดือนแล้ว ยังต้องเสียภาษีอีกไหม?
หลังจากตายแล้ว ถ้าห้องพักให้เช่ายังทำรายได้อยู่ แล้วและยังไม่มีการแบ่งมรดกในส่วนตรงนี้
นาย ก. ก็ยังมีภาระต้องเสียภาษีอยู่ ก็จะเป็นตามข้อที่ 4 ที่เรียกว่า “กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง” นั่นเอง
ดังนั้นต่อให้ตายไปแล้ว การเสียภาษียังเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่ หากเราบริหารหรือจัดการเรื่องการเงินไม่ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังได้
