
สถิติผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่กว่า 1 แสนราย และพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยพบผู้ป่วยมากถึงปีละ 390,773 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 588.39 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตสูงถึง 27 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 0.04 ต่อแสนประชากร ซึ่งยังเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง
“โรคไข้หวัดใหญ่” ถึงจะรุนแรงกว่า “โรคไข้หวัด” แต่ด้วยความที่มีคำว่า “ไข้หวัด” ก็จะเป็นอะไรที่ไม่ได้ดูอันตรายเพราะการเป็นไข้หวัด ก็เลยพาให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยของไข้หวัดใหญ่มากเท่าที่ควร
ANC จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับไข้หวัดใหญ่ ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ อันตราย รุนแรงแค่ไหน และมีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไร

มี 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆได้ แก่ สายพันธุ์ A และ สายพันธุ์ B
1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู A” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายมากที่สุด
เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ ตลอดจนแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง ทำให้เชื้อมีความเป็นลูกผสม และมีฤทธิ์รุนแรง โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักจะแพร่ระบาดตามฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ H1N1 และ H3N2
2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู B” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายรุนแรงเช่นกัน ที่พบได้บ่อย คือ B Victoria , B Yamagata , B Phuket ซึ่งสามารถระบาดได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาวเช่นเดียวกัน


1. มีไข้สูงมากกว่าปกติ ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
2. มีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย
3. มีน้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ ไอ
4. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามร่างกาย แขน ขา ตามตัว
หมายเหตุ : ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีระยะเวลาอาการของโรค 5 วัน หากมีอาการนานกว่านั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียแทรกซ้อนที่พบได้ในบางราย
นอกจากอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ไข้หวัดใหญ่ยังอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่พบบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ “ภาวะปอดบวม” และ “หลอดลมอักเสบ” ดังนั้น หากสังเกตพบอาการไข้หวัดที่รุนแรงกว่าปกติ ให้ควรรีบพบแพทย์ทันที

1. เด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี
2. ผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
3. ผู้หญิงตั้งครรภ์
4. ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
5. ผู้ที่ปอดไม่แข็งแรง เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว
6. ผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ต้องทานยาอยู่เสมอ
7. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม

1. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร
2. ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้อื่นทุกครั้ง
3. พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
4. ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอจาม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
5. สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปยังสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน อาทิ ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า และโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส เบิกบาน ไม่เครียด
7. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยลดโอกาสป่วย ลดความรุนแรงของโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดโอกาสในการเสียชีวิต ตลอดจนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากกว่า
ไข้หวัดใหญ่ดูเหมือนจะเป็นโรคธรรมดาๆ จนทุกคนรู้สึกว่าไม่น่ากลัวเท่าไรนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง และในเด็กเล็ก ดังนั้น การไม่ประมาทกับคำว่า “ไข้หวัด” ทางที่ดีที่สุด ก็คือ ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเอาไว้ นอกจากนี้ควรซื้อประกันติดไว้ เพราะจะได้ช่วยให้แบ่งเบาในค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่เจอไข้หวัดใหญ่รบกวน ไม่ต้องเสียสุขภาพกาย สุขภาพใจ เสียค่ารักษาพยาบาล และเสียโอกาสในการทำงาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รพ. พญาไท
