เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร?
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่รถยนต์ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยจะได้รับเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น แต่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าขั้นตอนการเบิกประกัน พ.ร.บ. ทำอย่างไร และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้ ANC มีคำตอบมาแชร์ค่ะ
เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร
-
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ภายหลังจากได้ถูกนำส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อทำการแจ้งเคลมและบอกเหตุการณ์
-
ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. ผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
-
แต่ทางผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำใบแจ้งความมาเป็นเอกสารในการเบิก พ.ร.บ.
-
นำเอกสารต่างๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
-
จากนั้นทาง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ
-
การดำเนินเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ
เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.
-
สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
-
สำเนาทะเบียนบ้าน
-
สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
-
สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
-
ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
-
สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บ
-
สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
-
ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นผู้ป่วยใน
-
สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
-
ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
เอกสารเพิ่มเติม กรณีทุพพลภาพ
-
สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-
ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
-
สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต
-
สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
-
ใบมรณบัตร
-
สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
-
สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
– ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
– กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) เบิกได้คนละ 35,000 บาท
ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทน
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้
– ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท
– กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง คนละ 500,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 500,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย คนละ 250,000 บาท
– กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 200,000 บาท
– ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย คนละ 300,000 บาท
– กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)
ความคุ้มครองของประกัน พ.ร.บ. ก็สามารถบรรเทาความทุกข์ร้อนในยามเมื่อเกิดเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าให้ พ.ร.บ. ขาดเด็ดขาด
Post Views: 56,224