พรบ. คืออะไร ? บางคนอาจจะสงสัยว่า ทั้ง พ.ร.บ. , ภาษี และประกันภัยประเภทต่างๆนั้น มีความแตกต่างกัน และมีความจำเป็นมากน้อยขนาดไหน วันนี้เรามาหาคำตอบให้หายข้องใจกันเลยดีกว่าค่ะ
พ.ร.บ.คืออะไร?
“พ.ร.บ.” คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายจราจร และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยต้องติดเครื่องหมายที่รถให้เห็นอย่างชัดเจนมิฉะนั้นก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
คุ้มครองอะไรบ้าง?
ตารางเบี้ยประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ)
ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
กฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบก ไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แล้วก็จัดเป็นรถ ที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วย
ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
1. สำหรับรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวัง กำหนด
3. รถของกระทรวง ทบวงกรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
*กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผูู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับ
ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ. นี้
อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.
กำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ บริษัทไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด
ศูนย์ช่วยเหลือ
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
อาคารวรสมบัติ ชั้น 1 RBB ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
Email : [email protected] โทรศัพท์. 02 645 1133 โทรสาร. 02 645 1134
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
สายด่วน 1791 โทร 0-2100-9191 แฟ็กซ์ 0-2643-0293-4
กองทุนวินาศภัย
22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
สายด่วน 1186 Email : [email protected] โทร. 0-2515-3999 โทรสาร. 0-2515-3970