“น้ำ” มีพื้นที่ต่อโลกทั้งใบไปมากถึง 1 ใน 3 จัดว่าเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงค์ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะนำมาใช้ตั้งแต่กิน ดื่ม ใช้งาน อาบน้ำ ทำการเกษตร และอื่นๆอีกมากมาย

จนเคยมีคนกล่าวขึ้นว่า “น้ำคือชีวิต”

 

        แต่ “น้ำ” ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจจะก่อความเสียหายได้ หากไม่นับจากการเกิดภัยพิบัติต่างๆที่เกิดจากน้ำ อย่างปัญหาใกล้ตัวที่เกิดจากน้ำของทุกครัวเรือน อาทิเช่น ฝนตกหนัก ฝ้าเพดานพัง ” น้ำรั่ว ท่อประปาแตก “ ทำให้ทรัพย์สินในบ้านเสียหาย หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ประกันบ้านจะสามารถเคลมได้หรือไม่?

ดังนั้นวันนี้ ANC จะมาแยกประเภทประกันบ้าน แบบไหนที่ได้รับความคุ้มครอง และไม่ได้รับความคุ้มครองกันเพื่อให้หายข้องใจกันค่ะ

ประกันบ้านที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่

        นอกจากประกันบ้านจะมีความคุ้มครองกรณีน้ำท่วมแล้ว ประกันบ้านยังคุ้มครองไปถึงทรัพย์สินที่เสียหาย จากภัยน้ำอื่นๆ ด้วย  ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายจาก น้ำรั่ว เพดานพัง อันเกิดจากภัยจากน้ำ ท่อประปาแตก เช่น ข้าวของใช้ในบ้านที่อาจจะชำรุดเพราะน้ำ หรือ พื้นปาร์เกต์เจอน้ำนองเลยกลายเป็นสภาพบวมน้ำ

 

        แต่หากเป็นกรณีภัยจากน้ำ ที่ไม่ได้เกิดจากภัยน้ำท่วม เป็นภัยที่สร้างความเสียหายให้แก่บ้านแต่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยระดับความเสียหายนั้นไม่กระทบต่อโครงสร้างบ้านให้ได้รับความเสียหาย เช่น กรณีฝนตกหนัก ฝ้าเพดานพัง น้ำรั่วซึมจากหลังคาบ้าน ประกันบ้านจะให้ความคุ้มครองเป็นภัยหลักอยู่แล้ว โดยจะต้องเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจากการปล่อย การรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำฝน แต่ไม่รวมถึงน้ำไหลบ่า น้ำท่วมจากภายนอกอาคาร หรือน้ำที่ซึมผ่านเข้ามาทางผนัง ระดับความคุ้มครองเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยที่เลือก

 

ประกันบ้านที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่

        ความเสียหายที่เกิดจากน้ำไหลมาจากพื้นที่อื่น น้ำที่ท่วมมาจากภายนอกอาคาร หรือน้ำที่ซึมผ่านเข้ามาทางผนังของฐานอาคาร

 

        การล้างท่อระบายน้ำสาธารณะ การแตกหรือการรั่วไหลจากระบบท่อประปาใต้ดิน หรือท่อน้ำดับเพลิงใต้ดิน ซึ่งเป็นท่อที่อยู่นอกสถานที่เอาประกันภัย หรือระบบพรมน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ประกันบ้านจะไม่ให้ความคุ้มครอง

แล้วถ้าเกิดอยากเคลมประกันขึ้นมา ต้องทำอย่างไร ?

        หลังจากได้ประกันน้ำท่วมที่ตรงใจแล้ว หากเกิดเหตุการณ์จริงจะเริ่มเคลมอย่างไรดี หลัก ๆ แล้ว จะมีขั้นตอน ดังนี้

 

ติดต่อบริษัทประกันภัย และเตรียมเอกสารการเคลม

        เพื่อแจ้งเรื่องราวเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เจอ และความต้องการเคลมประกันน้ำท่วม โดยทางบริษัทประกันฯจะแนะแนวทางว่าควรเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อนำมาประกอบการเคลม ปัจจุบันการยื่นเอกสารประกอบการขอสินไหมทดแทน สามารถทำได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งเอกสารส่วนใหญ่ที่ทางบริษัทประกันฯต้องการ จะมี 

  • หนังสือคำร้องขอสินไหมทดแทนที่ระบุรายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

  • หลักฐานอ้างอิงเหตุการณ์ความเสียหาย เช่น ภาพถ่ายระหว่างที่น้ำท่วมบ้าน , ร่องรอยความเสียหายต่าง ๆ เมื่อน้ำลดแล้ว

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

  • เอกสารอื่น ๆ ที่อาจขอเรียกขอเพิ่มเติม เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน , สำเนาเอกสารการแสดงความเป็นเจ้าของบ้าน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่แต่ละบริษัทประกันว่าต้องการอะไรเพิ่มเติมบ้าง 

 

เก็บหลักฐานต่าง ๆ สำหรับประกอบอ้างอิงการเคลม

        จะเห็นได้ว่าหลักฐาน คือเอกสารสำคัญชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเคลมประกันน้ำท่วม ซึ่งนอกจากการถ่ายภาพระหว่างน้ำท่วม ความเสียหายต่างภายในบ้าน สามารถถ่ายเป็นคลิปวีดิโอเพื่อเสริมความน่าเชื่อถือแนบไปด้วยก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ บางบริษัทประกันภัยอาจมีการกำหนดระยะเวลาการส่งหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ สำหรับการเคลม โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน หรือขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ข้อตกลงต่าง ๆ ของกรมธรรม์นั้น ๆ

 

        วันนี้พอจะคลายข้อสงสัยกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ ประกันบ้านที่เรารู้จักไม่ได้คุ้มครองแค่เพียงอัคคีภัย แต่ยังสามารถคุ้มครองกรณีน้ำท่วม น้ำรั่ว ท่อประปาแตก หรือแม้กระทั่งทรัพย์สินที่เสียหาย จากภัยน้ำอื่นๆ ด้วย แต่หากเราไม่มีประกันบ้านหล่ะ ค่าซ่อมแซมหรือค่าเสียหายต่างๆที่เราต้องเสียก็คงสูงไม่น้อย ลองมาคิดๆดูว่ามันคุ้มค่าหรือไม่ กับค่าใช้จ่ายที่เราไม่ควรเสีย

จะดีกว่าไหม? หากเรายอมเสียค่าเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียว ให้ประกันเข้ามาดูแล

เพียงแค่ 1,400บาทต่อปี ตกเฉลี่ยวันละไม่ถึง 4 บาท  พร้อมคุ้มครองทันที การันตีจากวิริยะประกันภัย หมดปัญหากังวลเรื่องบ้าน เพราะ #มีประกันบ้านแล้วหายห่วง

 

ภัยจากน้ำจะมาตอนไหนไม่มีใครรู้ เตรียมพร้อมรับมือก่อนที่จะเกิด”

หากสนใจประกันบ้าน อยากได้ที่ปรึกษา ให้ ANC ดูแลคุณ

หรือคลิกเพื่อเลือกดูแผนประกันบ้านและทำการสั่งซื้อได้ที่… >> https://bit.ly/3RKlz6j

Write A Comment