แรงงานต่างด้าวกับเอกสารMOU เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ หากผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จะต้องดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้องตามระบบ หากพบว่าแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารอะไรเลย จะมีความผิดตามข้อบังคับทางกฏหมายทั้งผู้ประกอบการ และแรงงานต่างด้าวพร้อมถูกส่งตัวกลับประเทศทันที เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยต้องได้รับการขึ้นทะเบียนแรงงาน หรือ การนำเข้าระบบ MOU เท่านั้น

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_1

MOU คือเอกสารสัญญาหรือหนังสือ ที่มีการเก็บบันทึกข้อตกลงที่มีความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย โดยหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน หรือระหว่างรัฐต่อรัฐ จะบันทึกข้อตกลงที่มีความเข้าใจตรงกันเป็นรูปแบบของหนังสือหรือสัญญา ซึ่งข้อความที่ระบุจะเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามข้อตกลง หรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ เป็น MOU 

ซึ่งการเข้ามาโดยรัฐบาลของประเทศต้นทางต้องทำความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างแต่ละประเทศ โดยตัวแทนของทุกฝ่าย จะลงนามในบันทึกข้อตกลงสัญญาหรือหนังสือ เพื่อให้มีผลบังคับใช้

 

 

ความสำคัญของเอกสารแรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวเมื่อเข้าประเทศมาเพื่อทำงาน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะมีเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว ทำให้เอกสารแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญ กรณีที่มีการตรวจสอบ

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_8

1. หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ

2. วีซ่าที่ยังไม่หมดอายุ

3. ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ และต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน

4. บัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู ต่างด้าว) ซึ่งด้านหลังมีใบอนุญาตทำงานและยังไม่หมดอายุ

หากมีเอกสารทั้ง 4 อย่างนี้ จะแสดงให้เห็นว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว และสามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_7

เอกสารที่ทำเรื่องขออยู่ต่อของแรงงานต่างด้าว จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือกรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างเป็นนิติบุคคล

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_4

1. หนังสือเดินทาง (Passport)

2. แบบคำขอ ตม.7

3. สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)

4. สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)

5. สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)

6. สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)

7. แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว

8. หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)

9. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)

10. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)

11. สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)

12. หนังสือมอบอำนาจ (*กรณีนายจ้างมาไม่ได้*)

13. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_3

1. หนังสือเดินทาง (Passport)

2. แบบคำขอ ตม.7

3. สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)

4. สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)

5. สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)

6. สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)

7. แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว

8. หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)

9. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนของนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดฉบับนายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
10. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)

11. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)

12.สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)

13. หนังสือมอบอำนาจ (*กรณีนายจ้างมาไม่ได้*)

14. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล เอกสารรายการที่ 8-13 ต้องประทับตราบริษัทด้วย

 

LINE_ALBUM_2023.8.28_๒๓๐๘๒๙_6

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังหาคนต่างด้าวมาทำงาน แต่พบว่าคนต่างด้าวไม่มีเอกสารอะไรเลย กรณีนี้จะต้องส่งตัวกลับประเทศ และต้องทำเรื่องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มาใหม่เพื่อการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย

Comments are closed.